Home ,  Back mail
 
Kobayashi Mail Magazine (039)

25 March 2011
 

Kobayashi's Mail Magazine (039)

 

1. ทักทายจาก Kobayashi's Mail Magazine

สวัสดีค่ะสำหรับฉบับนี้พวกเราชาวโคบายาชิก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับชาวญี่ปุ่นทุกคนกับเหตุการณ์ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นด้วยนะคะ ก็ขอให้ชาวญี่ปุ่น
ผ่านพ้นเหตุการณ์ร้ายๆ ครั้งนี้ไปได้ด้วยดี ตราบใดที่พระอาทิตย์ยังคงส่องแสง พวกเราทุกคนจะเป็นกำลังใจให้พระอาทิตย์ดวงนี้กลับมาส่องสว่างอีกครั้งค่ะ

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ เพราะปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับวัตถุ จนลืมไปว่าเรากำลังทำร้ายโลกที่เราอยู่ด้วยน้ำมือของเราเอง เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้นะคะ ช่วยกันรักษาโลกของเราให้กลับมาน่าอยู่อีกครั้งค่ะ

Kobayashi's mail magazine ฉบับนี้ ขอแนะนำตึก “ 31 Residence ” อพาร์ทเม้นท์เพิ่งเปิดใหม่ ที่ตอบสนองทุกความต้องการของคนญี่ปุ่น สำหรับหัวข้อความเคลื่อนไหวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฉบับนี้จะมานำ เสนอเรื่องของผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย และผลอต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค่ะ ส่วนหัวข้อสุดท้ายสภาวะความต้องการของชาวญี่ปุ่น ขอเสนอเรื่องของทิศของห้อง มาดูกันนะคะ
ว่าทิศแต่ละทิศเนี่ย มีผลต่อห้องอย่างไรบ้าง และทำไมคนญี่ปุ่นถึงให้ความสำคัญกับทิศ

 

2. แนะนำตึกใหม่

ฉบับนี้ขอแนะนำให้รู้จักกับ “31 Residence” อพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ในซอยสุขุมวิท 31 เดินทางประมาณ 15 นาทีถึงรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
แต่หากไม่อยากเดิน ที่นี่เค้าก็มีบริการรถรับ-ส่งค่ะ สะดวกสบายเพราะอยู่ใกล้กับห้าง Emporium, Fuji Super, Villa Market
และร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ สำหรับชาวญี่ปุ่น

ลักษณะอาคารภายนอกสีขาวดูเรียบง่าย ล็อบบี้และออฟฟิศที่อยู่ชั้นล่างก็เช่นกัน ทุกอย่างเน้นสีขาวดูสะอาดตา ตั้งแต่ทางเข้าที่มีต้นไม้อยู่ตามทางเดิน
และธงภาษาญี่ปุ่น ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาพักรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้อยู่ที่บ้านตัวเอง ในห้องพักตกแต่งแบบเรียบง่าย ตามสไตล์ญี่ปุ่น ผนังห้องทาสีขาว
พื้นห้องปูปาร์เก้ เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นไม้สีอ่อน โดดเด่นด้วยกระจกหน้าต่างบานใหญ่ ที่มีอยู่ทุกห้อง ทำให้ห้องพักที่นี่ดูสว่าง ห้องพักที่นี่
เหมาะสำหรับอยู่อาศัยกันเป็นครอบครัว เพราะห้องมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 2 ห้องนอน ถึง 3 ห้องนอน และห้องแม่บ้าน

สิ่งอำนวยความสะดวกของที่นี่มีทั้งสระว่ายน้ำ, ห้องออกกำลังกาย, ห้องเด็กเล่น, ห้องซาวน่า ห้องอเนกประสงค์ และสนามเด็กเล่น ระบบรักษาความปลอดภัยที่นี่มีตลอด 24 ชม. สรุปแล้วที่นี่เป็นที่อยากจะแนะนำสำหรับคนญี่ปุ่นที่มากันเป็นครอบครัว เพราะบรรยากาศที่อบอุ่น เหมือนอยู่บ้าน และ
ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ จะรู้สึกมีความสุขเมื่อมาพักที่นี่อย่างแน่นอนค่ะ ชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/sukhumvit/apartment/sk1299E.htm

 

 

3. ความเคลื่อนไหวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

สำหรับเดือนนี้ขอเสนอเรื่องของผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีผลอย่างไรต่อธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ เรามาดูกันนะคะว่าหลังจากที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศญี่ปุ่น
อย่างมหาศาลนั้น จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไรบ้างค่ะ

แม้ว่าเมืองที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติครั้งนี้จะไม่ได้เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของประเทศญี่ปุ่นมากนัก เนื่องจาก
เมืองที่อยู่ในเขตภัยพิบัตินั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 8 ของ GDP เท่านั้น แต่เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
ทำให้การฟื้นฟูต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน สำหรับภาคอุตสาหกรรมแล้ว ที่มีการผลิตแบบห่วงโซ่อุปทาน การที่กระบวนการหนึ่งของห่วงโซ่นั้น
เกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการอื่นๆ ในห่วงโซ่นั้นด้วย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่โรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ที่ปิดตัวลงชั่วคราวหลายสิบแห่ง ซึ่งการที่โรงงานเหล่านี้ปิดตัวลง ไม่ว่าจะชั่วคราวหรือถาวรก็ย่อมมีผลกระทบทั้งสิ้น แต่หากใช้เวลาไม่นานในการฟื้นฟู ประเทศไทยก็คงจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก หรือได้รับผลกระทบเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ประเมินถึงผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับว่า มีผลทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลดลง เพียงแค่ 0.1% เท่านั้น ด้านธุรกิจท่องเที่ยว สำหรับชาติอื่นๆ
คงไม่มีปัญหา แต่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยนั้นขณะนี้ยังลดลงไม่มากนัก ยกเว้นผู้ที่อยู่ในเขตภัยพิบัติ ส่วนผู้ที่
จะเข้ามาอาศัยในประเทศไทยแบบระยะยาวยังไม่มีการตัดสินใจ เนื่องจากต้องรอดูสถานการณ์ภายในประเทศก่อน แต่คาดว่าปีนี้นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
จะเดินทางมายังประเทศไทยลดลงประมาณ 200,000 คน จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 1.4 ล้านคน เหลือเพียง 1.2 ล้านคนเท่านั้น สำหรับการลงทุน
บริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นอาจชะลอการลงทุนลง เนื่องจากต้องเร่งฟื้นฟูภายในประเทศเสียก่อน แต่ในระยะยาวทางญี่ปุ่นน่าจะมีการเคลื่อนย้าย
ฐานการผลิต และการลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ประเทศไทย

สรุปว่าในระยะสั้นประเทศไทยอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง จากการขาดแคลนวัตถุดิบที่มาจากญี่ปุ่น แต่ยังไม่มากนัก ทั้งนี้ก็ยังต้องรอดูการฟื้นตัว
ของประเทศญี่ปุ่นก่อน สำหรับภาคการท่องเที่ยวในปีนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องได้รับผลกระทบ รวมทั้งการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นที่จะต้องชะลอตัวลง
ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบบ้าง แต่คงไม่มากนัก ยกเว้นในส่วนของโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ที่อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่องมาจากการท่องเที่ยวต่างประเทศของคนญี่ปุ่นลดลง แต่สำหรับอพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม และลูกค้าระยะยาวของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้นคงไม่มีปัญหามากนัก เนื่องจากยังไม่ได้มีการถอนการลงทุนแต่อย่างใด เพียงแค่ชะลอการลงทุนออกไปก่อนเท่านั้น

 

4. ความต้องการของลูกค้าชาวญี่ปุ่น

สำหรับสภาวะความต้องการของลูกค้าชาวญี่ปุ่นในฉบับนี้ จะขอเสนอเรื่องทิศทางของห้องค่ะ เพราะคนญี่ปุ่นมักจะให้ความสำคัญกับทิศทางของห้อง
ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับทิศทางลม แสงแดด และวิวของห้องนั้นๆ ซึ่งคนญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องทิศทางของห้องพอสมควรนะคะ
คนญี่ปุ่นจะดูว่าว่าห้องไหนอยู่ทิศไหน ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีทิศไหนที่ดีเป็นพิเศษหรอกค่ะ ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลมากกว่า
แต่ถ้าห้องอยู่ทางทิศตะวันตก ก็จะทำให้แดดส่องตอนเย็น เมื่อลูกค้ากลับห้องมาก็จะพบกับห้องที่ร้อนอบอ้าว ห้องทางทิศเหนือจะร่มกว่า
แต่ก็จะไม่ค่อยมีลม ส่วนห้องทางทิศใต้จะได้รับลมค่อนข้างดี แต่อาจจะมีแดดส่องบ้าง ทิศตะวันออก็น่าสนใจนะคะ ถ้าคุณไม่ใช่คนตื่นสาย
เพราะแดดจะส่องเข้ามาตอนเช้า ซึ่งเรื่องทิศนี้ลูกค้าหลายคนจะต้องการทราบด้วยว่าห้องไหนอยู่ทางทิศไหน เพราะหากว่าแต่ละห้องตกแต่งเหมือนกันแล้ว เรื่องทิศก็เป็นเรื่องต่อมาที่ลูกค้าจะพิจารณา พอๆกับเรื่องวิว ที่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าเราเปิดหน้าต่างออกมาแล้วต้องเจอกับ
ผนังของตึกตรงข้าม หรือที่จอดรถ แทนที่จะเป็นสระว่ายน้ำ หรือสวนสาธารณะ เราก็คงไม่ชอบเหมือนกันใช่ไหมคะ ยกเว้นว่าห้องนั้นจะตกแต่งได้สวยงามโดนใจลูกค้าเป็นอย่างมาก หรืออยู่ในทำเลที่ลูกค้าู้สะดวกในการเดินทางนั่นเองค่ะ

 

ขอขอบคุณที่ติดตามนะคะ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

 

 

เขียนโดย น.ส. พิไลวรรณ เจริญจักพัฒนา

หากผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่านใดต้องการอ่าน Mail Magazine ฉบับย้อนหลังสามารถติดตามได้ที่
http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/Mailmagaz.htm
สำหรับท่าน ที่ได้รับ Mail Magazine ของโคบายาชิแล้ว มีข้อแนะนำ หรือข้อสงสัยใด ๆ ที่ต้องการทราบ สามารถส่งอีเมลมาได้ที่ may@kobayashi.co.thยินดีรับทุกฉบับค่ะ