Home ,  Back mail
 
Kobayashi Mail Magazine (021)

30 Sep. 2009
 

 

1. ทักทายจาก Kobayashi's Mail Magazine

สวัสดีค่ะ สำหรับเดือนนี้ สิ่งที่ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายคงหนีไม่พ้น “ ดช.หม่อง ทองดี “ เด็กไร้สัญชาติ ผู้ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ในการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภททีม 3 คน และอันดับ 3 ประเภทบุคคลอายุไม่เกิน 12 ปี ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ อยากเล่าถึงเรื่องการแข่งขันนี้นะคะ การแข่งขันนี้จัดโดยมีผู้สนับสนุน คือ สายการบิน JAL ,สมาคมเอกชน ชื่อ Mono-zukuri , และ ชาวญี่ปุ่นที่นำงานในองค์การ NAZA โดยกติกาคร่าวๆคือ การพับกระดาษโอกามิ ( A3) เป็นเครื่องบินกระดาษรูปแบบใดก็ได้แต่ให้อยู่บนอากาศให้นานที่สุด แบ่งการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ (1) ประเภทโรงเรียนประถม ทีมละ 3 คน ต้องมาจากโรงเรียนเดียวกัน (2)ประเภททีม 3 คน ระดับต่ำกว่าประถม (มาจากต่างโรงเรียนกันก็ได้ ) (3) ประเภทเดี่ยว อนุบาล,ประถม,มัธยมขึ้นไปชาย/หญิง และ อายุ 65 ปีขึ้นไป แหม ดูแล้วน่าสนุกจังเลยนะคะ ใครจะคิดว่าเครื่องบินกระดาษ ที่เราพับเล่นตอนเด็กๆ จะกลายมาเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติขนาดนี้ อันที่จริงสิ่งเล็กน้อยนี่แหล่ะที่เป็นสิ่งเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ บวกความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ก็ทำให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จ

ข้อมูลเพิ่มเติม : www.oriplane.com/en/top.html

Kobayashi's mail magazine ฉบับนี้ ขอแนะนำตึก 2 ที่ค่ะ ที่แรกคือ เซอร์วิสอพาร์เม้นท์ในซอยทองหล่อ ที่มี Concept โดดเด่นด้วยสีเขียว เน้นลูกค้าชาวญี่ปุ่น “Grass Suites” ที่สองคือ “ Tree Apartment” อพาร์ทเม้นท์ที่เพิ่งรีโนเวทใหม่ได้น่าอยู่ การันตรีได้เพราะว่าเมื่อเสร็จไม่นานตอนนี้ห้องก็เต็มแล้ว สำหรับหัวข้อความเคลื่อนไหวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวถึง สถานการณ์ลูกค้าชาวญี่ปุ่นสำหรับตลาดธุรกิจเช่าที่พักอาศัยในช่วงนี้ สภาวะความต้องการของชาวญี่ปุ่น กล่าวถึงเรื่อง “ วิว ” นามธรรม ที่มองเห็นด้วยตาแต่สัมผัสด้วยใจ

2. แนะนำตึกใหม่

Grass Suites ที่ตั้งซอยทองหล่อ 12 เป็นเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ มีห้องสตูดิโอและ 1ห้องนอน ที่นี่มี Concept การตกแต่งที่ให้บรรยากาศสดชื่น ด้วยหญ้าสีเขียว ตั้งแต่ภายนอก ด้านใน Lobby ,ทางเดิน,และในห้องก็มีปูหญ้าสีเขียวบริเวณทางเข้า เหมือน ” เกงคัง ” ( げんかん ) บริเวณหน้าประตูบ้านของบ้านแบบญี่ปุ่น ลักษณะห้อง ไม่กว้างนักแต่ห้องสว่าง และเป็นสัดส่วน ห้องน้ำมีอ่างอาบน้ำและมี Washlet * ทุกห้อง น่าจะถูกใจคนญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อย สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/sukhumvit/apartment/sk 1454 B.htm

Tree Apartment ที่ตั้งในซอยสุขุมวิท 49 เป็นอพาร์ทเม้นท์ที่เพิ่งรีโนเวทเสร็จประมาณเดือนกันยายนนี้เอง ที่นี่มีพื้นที่รอบๆกว้างพอสมควร มีสระว่ายน้ำและสนามหญ้ากว้างด้านล่าง มี 5 ชั้น 10 ยูนิต ลักษณะห้องกว้าง สว่าง อากาศถ่ายเท พื้นไม้ปาเก้สีเข้ม ห้องครัวกว้างทันสมัย มีอุปกรณ์และเครื่องครัวครบครัน มีระเบียงและห้องน้ำกว้าง การตกแต่ง แม้ไม่ได้ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ดูหรูหรา แต่ก็สวยงามและโดดเด่นดูสบายน่าพักผ่อน สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/sukhumvit/apartment/sk 1412. htm

 

3. ความเคลื่อนไหวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสำหรับตลาดเช่าอสังหาฯ ของชาวญี่ปุ่นนั้น คือ ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อาจเป็นนักธุรกิจหรือพนักงานที่สำนักงานใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นส่งเข้ามา ดังนั้นการดำเนินการหรือนโยบายการเข้ามาทำงานนั้น จะขึ้นอยู่กับนโยบายจากทางญี่ปุ่น ที่มีความสัมพันธ์ในเรื่องการลงทุน เรื่องเศรษฐกิจ และเรื่องการเมืองด้วยเช่นกัน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า มีเจ้าของคอนโด หรืออพาร์ทเม้นท์ถามเข้ามามากถึงเรื่องของ จำนวนลูกค้าเช่าชาวญี่ปุ่นในขณะนี้ เบื้องต้นคำตอบ คือ ช่วงเดือนก.ย. เป็นช่วงที่ยังไม่มีการโยกย้าย หรือการส่งผู้บริหารมาบริษัทในประเทศไทย ส่วนมากเป็นลูกค้าย้ายอพาร์ทเม้นท์ ประกอบกับ การรอความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการดำเนินการของรัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่น

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาทางประเทศญี่ปุ่นมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่โดย ผู้ที่ได้รับชัยชนะ คือ พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น DPJ โดยมีนายกรัฐมนตรี คือ นาย ยูคิโอะ ฮาโตยามา (อายุ 62 ปี ) ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากรัฐบาลเดิม พรรคเสรีประชาธิปไตย LDP ซึ่งปกครองประเทศมายาวนานเกือบ 50 ปีต้องไปทำหน้าที่ฝ่ายค้านแทน แม้จะได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น แต่สำหรับการเปลี่ยนขั้วเช่นนี้ จึงต้องจับตามอง ถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ และนโยบายต่างประเทศ อาจมีการชะลอการลงทุน หรือการเข้ามาทำงานในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ก็ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดเช่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อนโยบายของรัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นนั้นชัดเจนขึ้น ก็คงกลับสู่ภาวะปกติ ยังมีแนวโน้มที่ดีอีกว่า ญี่ปุ่นจะเน้นการดำเนินการธุรกิจกับเอเชียด้วยกันมากขึ้น
ขอบคุณ Credit :http://news.mthai.com และ ไทยรัฐ

 

4. สภาวะความต้องการของลูกค้าชาวญี่ปุ่น

สิ่งนี้อาจจะเป็นนามธรรมที่ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอะไรในการพักอาศัย ไม่ได้มีส่วนตัดสินในเรื่องความสะดวกสบายในการพักอาศัยใดๆ แต่ การที่มีระเบียงชมวิว หรือมองออกไปจากห้องนอนมีวิวที่สวยงามนั้น เป็นหมือนส่วนเติมเต็มความรู้สึก ในที่พักนั้น ดูสมบูรณ์แบบมากขึ้น คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ห้องที่มีวิวสวยกว่า ชั้นสูงกว่า ก็จะมีราคาดีกว่าห้องที่อยู่ Low Floor แน่นอน บางครั้งในห้องที่เหมือนกัน แต่มีวิวสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบแล้วลูกค้าก็คงตัดสินใจเลือกห้องที่มีวิวสวยกว่าแน่นอน สำหรับตึกใหม่ คอนโดใหม่ที่เพิ่งสร้าง ในช่วงที่ผ่านมา ก็มักจะมีการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับระเบียง และ โครงสร้างกระจก บานกว้าง ที่รับชมวิวได้กว้าง คิดๆดูแล้ววิวเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่ต้องลงทุนเลย ยิ่งถ้าเป็นอาคารสูงก็ถือว่าได้เปรียบมากเลยที่เดียว วิวที่ได้รับความนิยมและ สร้างคุณค่าให้กับคอนโด อพาร์ทเม้นท์ หลักๆ คงหนีไม่พ้น River View วิวแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็สวยงามไม่ต่างกัน, City View มีจุดขายอยู่ที่ยามค่ำคืน ในเมืองที่วุ่นวายนี้ แต่แสงไฟและตึกระฟ้า ก็ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเช่นกัน, Park View วิวของสวนสารธารณะ สีเขียวของต้นไม้ที่ให้ความรู้สึกสดชื่น แต่หากอพาร์ทเม้นท์ใดหรือคอนโดมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ คิดว่าการออกแบบให้มีวิวสระว่ายน้ำ หรือ พื้นที่สีเขียว สวนต้นไม้ในบริเวณอพาร์ทเม้นท์ ก็ช่วยเติมเต็มความรู้สึก ให้ผู้พักอาศัยได้มีเวลาผ่อนคลายได้เช่นกันค่ะ

 

5.ข่าวประชาสัมพันธ์

ในช่วงสิ้นเดือนนี้เป็นต้นไป ทางบริษัทโคบายาชิจะมีการเข้าไปพบกับตัวแทนของอพาร์ทเม้นท์ต่างๆเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดี และเยี่ยมเยียนพูดคุยกัน ต้องขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นของทุกท่านด้วยนะคะ

 

*ฝาติดชักโครกที่มีระบบการฉีดชำระเพื่อความสะดวกสบาย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Mail Magazine ฉบับเดือนเมษายน 2552

http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/Mailmaga/e_mail 016. htm

ขอบคุณ คุณโนริโกะ บ.โคบายาชิ สำหรับข้อมูลเรื่อง “ การแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ”

เขียนโดย น.ส. นิภาพร พลอยเลี้ยง

หากผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่านใดต้องการอ่าน Mail Magazine ฉบับย้อนหลังสามารถติดตามได้ที่
http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/Mailmagaz.htm
สำหรับท่าน ที่ได้รับ Mail Magazine ของโคบายาชิแล้ว มีข้อแนะนำ หรือข้อสงสัยใด ๆ ที่ต้องการทราบ สามารถส่งอีเมลมาได้ที่ tun@kobayashi.co.th ยินดีรับทุกฉบับค่ะ