Home ,  Back mail
 
Kobayashi Mail Magazine (007)

25 July. 2008



1. ทักทายจาก Kobayashi's Mail Magazine

วลาที่เราทำงานหรือทำอะไรที่ทำเป็นประจำ บางครั้งก็อาจมีความรู้สึกเบื่อ ๆ ได้นะคะ แต่ก็เป็นกิจวัตรนะคะ ยังไง ๆ ก็ต้อง

ทำอยู่ดี งั้นลองทำอะไรที่เหมือนเดิมแต่เพิ่มความสนุกไปด้วย ก็น่าจะดีกว่านะคะ สนุกกับความจำเจจะทำได้อย่างไร เพิ่มความสนุก แต่

ไม่ต้องเพิ่มงานจะดีกว่านะคะ อย่างเช่นแฟ้มงานต่าง ๆ ก็ต้องมีการติดชื่อ เราก็ลองเปลี่ยนชื่อให้ตลก ๆ ก็ได้นะคะ เช่น แฟ้มงานที่ยังค้าง

อยู่ก็ใช้ชื่อว่า “ มันยังหลอนอยู่ ” หรือ แฟ้มงานที่ได้รับมอบหมายมาใหม่ ก็ใช้ชื่อว่า “ มันมาอีกแล้ว ” อะไรอย่างนี้ ออกจะตลกหน่อย ๆ จะ

ได้ไม่เครียดนะคะ (แต่เปลี่ยนชื่อเฉพาะแฟ้มที่ใช้ส่วนตัวจะปลอดภัยกว่านะคะ)

Kobayashi's mail magazine ฉบับนี้มีแนะนำตึกใหม่ เป็นคอนโดมิเนียมแบบ Low – Rise ย่านเอกมัย ให้ความรู้สึกทันสมัย

สำหรับคนเมืองอย่าง The Address 42 ด้านความเคลื่อนไหวของธุรกิจอสังหาฯ จะบอกถึงเหตุผลที่ชาวญี่ปุ่นเลือกใช้บริการนายหน้าหา

ที่พัก และความต้องการของคนญี่ปุ่นฉบับนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับห้องนอนค่ะ

 

2. แนะนำตึกใหม่

The Address 42 Condominium คอนโดมิเนียมเปิดใหม่ ในเครือเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ มี 8 ชั้นแบ่งเป็น 2 อาคาร เดินทาง

สะดวกห่างจาก BTS เอกมัยเพียง 300 เมตร ใกล้แหล่งช็อปปิ้ง, ร้านอาหาร ย่านเอกมัย ภายใต้บรรยากาศสงบเงียบ เหมาะสำหรับการ

พักผ่อน ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ห้องค่อนข้างเล็ก ไม่เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีลูก การตกแต่งแต่ละห้องแตกต่างกัน แล้วแต่

เจ้าของห้อง สามารถชมรายละเอียดได้ที่

http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/sukhumvit/apartment/sk1377B.htm

 

3. ความเคลื่อนไหวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

สำหรับลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่ต้องการพักอาศัยเพื่อทำงาน ในสำนักงานที่อยู่ในประเทศไทย ยังคงนิยมใช้บริการเอเจนซี่หาที่พัก

มากกว่าที่จะติดต่อหาเองจากเวปไซต์ หรือให้คนไทยที่บริษัทของตนเองหาให้ เป็นผลทำให้เกิดบริษัทเอเจนซี่ขึ้นมากมาย เพื่อรองรับ

ตลาดลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่ลูกค้านิยมใช้บริการของเอเจนซี่ คือ

•  มีข้อมูลที่พักแต่ละที่มาก ทำให้ทราบข้อดีข้อเสียของแต่ละที่ สามารถแนะนำได้

•  เป็นคนกลางทำหน้าที่ประสานงานทางด้านการสื่อสารที่ดี เนื่องจากลูกค้าชาวญี่ปุ่นหลายท่าน ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ในขณะที่ทางเจ้าของห้องก็ไม่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ รวมถึงประสานงานซ่อมต่าง ๆ , การติดตามคืนเงินประกันห้อง

•  เอเจนซี่แต่ละบริษัทจะมีโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น บริการให้ยืมเครื่องใช้ไฟฟ้า, ออกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย (กรณีมีที่พักเดิมอยู่ในกรุงเทพอยู่ก่อนแล้ว ย้ายไปที่พักใหม่)

•  และที่สำคัญไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขอรับบริการต่าง ๆ ที่กล่าวมาอีกด้วย

4. สภาวะความต้องการของลูกค้าชาวญี่ปุ่น

หลังจากฉบับที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ห้องซักผ้าของชาวญี่ปุ่นแล้ว มาฉบับนี้จะพูดถึงห้องที่สำคัญอีกห้องหนึ่ง นั่นคือ

ห้องนอนค่ะ ห้องนอน จริง ๆ เป็นห้องสำหรับพักผ่อน เป็นห้องสำหรับนอนนั้น จะต้องมีการตกแต่งอย่างไร ให้ถูกใจลูกค้าชาวญี่ปุ่น

สิ่งที่ชาวญี่ปุ่นสังเกตทุกครั้งที่ชมห้องก็คือ

•  แสงสว่าง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีนิสัยรักการอ่าน แม้ว่าจะเป็นเวลาพักผ่อน แต่ก่อนจะนอนนั้น ก็มักจะอ่านหนังสือเสมอ

•  แสงไฟภายในห้อง ควรเป็นสีขาว (สีเหลืองนวลนั้นเหมาะสำหรับชาวตะวันตกมากกว่า) บริเวณหัวเตียงจะต้องมีแสงสว่างเพียงพอ หรือเพิ่มเป็นโคมไฟหัวเตียง

•  หน้าต่างภายในห้อง ควรมีขนาดใหญ่ ให้รู้สึกกว้าง สบาย ไม่อึดอัด และยังสามารถชมวิวภายนอกได้เป็นอย่างดี

•  ที่นอน (ฟูก) นิยมแบบแข็งมากกว่าแบบนุ่ม เนื่องจากที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะนอนบนพื้น และมีผ้ารองเท่านั้น จึงเป็นความเคยชิน หากเป็นแบบนุ่มจะทำให้รู้สึกปวดหลังได้

•  สุดท้ายคือ โต๊ะทำงานภายในห้อง บางครั้งเป็นแบบมีกระจกรองบนโต๊ะ ซึ่งแบบมีกระจกไม่เป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่น เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมสิ่งที่เป็นธรรมชาติ คืออะไรที่เป็นไม้ กระจกนั้นถือเป็นหิน มีคุณสมบัติเย็น ซึ่งคนญี่ปุ่นไม่ชอบ และอาจกระแทก ทำความเสียหายให้กับโน๊ตบุ๊คอีกด้วย

 

ข้อมูลเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวญี่ปุ่นเช่า ในกรณีที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างก็

จะสามารถปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการได้ สำหรับหลาย ๆ ตึกที่สร้างเสร็จแล้ว มีการตกแต่ง และนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ แล้ว ก็

อาจนำไปปรับปรุงแก้ไข ในส่วนที่สามารถแก้ไขได้ จะทำให้สามารถปิดห้องได้มากขึ้นค่ะ

 

เขียนโดย น.ส. เกศรา สมทอง

 

หากผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่านใดต้องการอ่าน Mail Magazine ฉบับย้อนหลังสามารถติดตามได้ที่

http://www.kobayashi.co.th/Thaigo/Mailmagaz.htm สำหรับท่าน ที่ได้รับ Mail Magazine ของโคบายาชิแล้ว
มีข้อแนะนำ หรือข้อสงสัยใด ๆ ที่ต้องการทราบ สามารถส่งอีเมลมาได้ที่ tun@kobayashi.co.th ยินดีรับทุกฉบับค่ะ


 
เขียนโดย น.ส. เกศรา สมทอง